วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

สังข์ศิลป์ไซ

ภารกิจที่ ๑
๑.วิเคราะห์ ชื่อเรื่องนิทานสังข์ศิลป์ชัย
              วรรณกรรมเรื่องสินไซ หรือสังข์ศิลป์ชัย เป็นนิทานพื้นบ้านอีสาน-ลาว ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความไพเราะ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นวรรณกรรมชั้นยอดของลาว เป็นเรื่องราวการผจญภัยและการต่อสู้กับฝ่ายอธรรมของ พี่น้อง ประกอบด้วย สังข์ สินไซและสีโห ซึ่งเชื่อกันว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมืองเป็งจาน จังหวัดหนองคาย ในปัจจุบัน
             นิทานเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะชาวบ้านที่อยู่ในแถบภาคอีสานของไทย รวมไปถึงในประเทศลาว ต่างรู้จักนิทานเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากได้มีโอกาสรับรู้นิทานเรื่องนี้จากการได้ฟังในงานศพ และชมเป็นมหรสพตามงานบุญต่างๆ ในรูปของ หมอลำ หนังบักตื้อหรือหนังตะลุงอีสาน เป็นต้น
ที่มาของชื่อเรื่องสังข์ศิลป์ชัย คือ ตั้งชื่อเรื่องตามตัวละครเพราะเป็นตัวละครเอกของเรื่องเป็นผู้ที่ดำเนินเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องสังข์สินไซจากต้นจนจบ โดยสินไซเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษและมีอาวุธติดตัวมาตั้งแต่เกิดคือสังข์โดยมีสีโหเป็นเพื่อนคู่ใจ
๒.แก่นเรื่อง
             คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ถึงจะอยู่ที่ไหนหากแม้นว่าเป็นคนดีเมื่อเวลาตกทุกข์ได้ยากก็จะมีคนคอยช่วยเหลือยู่ตลอดเวลา
๓.โครงเรื่อง
    การเปิดเรื่อง  
กล่าวถึง เมืองปัญจาล หรือ (เป็งจาล) มีพระราชาพระนามว่า ท้าวกุศราช มีมเหสีชื่อนางจันทาเทวี วันหนึ่งพระขนิษฐาของท้าวกุศราชชื่อนางสุมณฑา ถูกยักษ์กุมภัณฑ์ลักพาตัวไปโดยที่ท้าวกุศราชไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย
    การดำเนินเรื่อง
๑. อยู่มาวันหนึ่งพระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีทรงตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นโอรสทุกพระองค์ พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า " สีโห" ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลปชัย) " และมีสังข์เป็นอาวุธติดมือมาตั้งแต่เกิด
๒. ครั้นนั้นโหราทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก สามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาวมาก จึงติดสินบนหมอโหราให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุศราช ท้าวกุศราชจึงจำยอมขับไล่นางและโอรสสินไซออกจากเมือง เพราะโหรทูลว่าพระโอรสจะนำความวิบัติมาสู่บ้านเมือง ท้าวสีโหโอรสมเหสีจันทาเทวีขอติดตามสินไซไปด้วย
๓. เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่องจึงมาเนรมิตกระท่อมให้แม่ลูกอาศัยอยู่จนเติบใหญ่
๔. เมื่อหกกุมารเจริญวัยได้เสด็จประพาสป่ามาพบกระท่อมของสินไซและมารดา สินไซได้แสดงอภินิหารให้กุมารทั้งหกชม วันหนึ่งกุมารทั้งหกอยากอวดอิทธิฤทธิ์ให้บิดาชม จึงมาติดสินบนให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง พระบิดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าพระกุมารมีอิทธิฤทธิ์สามารถเรียกสัตว์ป่าได้จริง ๆ
๕. พระบิดาจึงสั่งให้กุมารทั้งหกไปติดตามหานางสุมณฑาที่ยักษ์ลักพาไป พระกุมารทั้งหกจึงอ้อนวอนให้สินไซช่วยเหลือไปตามพระเจ้าอา พระมารดาไม่อยากให้สินไซไป แต่สินไซได้รับรองกับพระมารดาว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์ มีทั้งสังข์ และท้าวสีโหที่จะช่วยขจัดภัยพิบัติทั้งปวง พระมารดาจึงยินยอมให้ไปกับกุมารทั้งหก
๗. เมื่อกองโยธาไปถึงฝั่งมหาสมุทรสินไซจึงให้กองโยธาและกุมารทั้งหกตั้งทัพคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำ ตนและสีโหจะไปยังเมืองยักษ์ติดตามนางสุมณฑาเอง สินไซก็ขี่ท้าวสีโหเหาะไปจนถึงเมืองยักษ์ ได้พบนางสุมณฑาเล่าเรื่องของตนให้ฟัง
๘.ในที่สุดสินไซก็ฆ่ายักษ์กุมภัณฑ์ได้ และไปเมืองนาคเล่นพนันเอาเมืองกับท้าววิรุณนาค ท้าววิรุณนาคแพ้ยอมยกเมืองให้ แต่ไม่ยอมให้นางสุดาจันทร์ ทั้งสองจึงรบกัน สินไซชิงนางไปได้ จึงพานางสุดาจันทร์และนางสุมณฑากลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารตั้งทัพคอยอยู่
๙. เมื่อกุมารทั้งหกเห็นดังนั้นก็เกิดอุบายที่จะกำจัดสินไซขึ้นโดยพากันหลอกให้สินไซเดินไปหน้าผาแล้วผลักให้สินไซตกลงไป
o. เมื่อทำตามแผนสำเร็จกุมารทั้งหกก็พานางสุมณฑากลับเข้าเมืองเมื่อท้าวกุศราชเห็นดังนั้นก็ดีใจและได้ชื่นชมในความสามารถของกุมารทั้งหก
    การปิดเรื่อง

เมื่อความจริงถูกเปิดเผยว่าไม่ใช่กุมารทั้งหกที่เป็นคนพานางสุมณฑากลับมายังบ้านเมืองท้าวกุศราชจึงสั่งเนรเทศกุมารทั้งหกออกจากเมืองแล้วได้ไปเชิญสินไซและมารดากลับเข้ามายังบ้านเมืองต่อสินไซจึงได้ขึ้นปกครองบ้านเมือง โดยทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขตลอดกาล