รายงาน
เรื่อง สังข์ศิลป์ชัย
จัดทำโดย
นายณัทรกรณ์
โยธารักษ์ ชั้นปีที่ ๓ หมู่ ๒
รหัสนักศึกษา
๕๗๒๑o๔o๖๒๒๓
เสนอ
อาจารย์วัชรวร วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
สาขาวิชาภาษาไทย
คณะครุศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๙
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ที่มีเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย
การทำความดี อีกทั้งการทำรายงานฉบับนี้เพื่อเป็นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือและตำนานของเรื่องเพื่อที่จะให้ผู้สนใจได้ศึกษาและค้นคว้าต่อไป
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและอยากจะศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
ไม่มากก็น้อย
ผู้จัดทำ
นายณัทรกรณ์ โยธารักษ์
สารบัญ
เรื่อง
บทที่ ๑ สรุปเนื้อหานิทานเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
๑. ๑ ที่มาและความสำคัญ
๑. ๒ ประวัติหนังสือ/ ผู้แต่ง/ ปีที่แต่ง/สำนักพิมพ์
บทที่ ๒ วิเคราะห์ ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
๒.๑ ชื่อเรื่องมาจากอะไร
๒.๒ แก่นเรื่อง
๒.๓ โครงเรื่อง
๒.๔ ตัวละคร
๒.๕ ภาษา
๒.๖ ฉาก/สถานที่
บทที่ ๓ ความโดเด่นของโครงเรื่อง
บทที่ ๔ การนำไปประยุกต์ใช้
บทที่ ๑
สรุปเนื้อหาและที่มาของนิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
ที่นครเปงจาล พระยากุศราช
เป็นเจ้าเมือง มีน้องสาวรูปงามชื่อนางสุมุณฑา วันหนึ่งนางไปชมสวน
มียักษ์กุมภัณฑ์มาอุ้มเอานางไปยังเมืองอโนราช แล้วแต่งตั้งเป็นมเหสี
พระยากุศราชเสียใจมาก จึงออกบวชติดตามไปถึงเมืองจำปา และได้พบธิดาทั้ง ๗
ของนันทะเศรษฐี จึงสึกและขอนางเป็นมเหสี พระยากุศราชเรียกมเหสีทั้ง ๘ มา
ให้ทุกนางตั้งจิตอธิษฐานขอเอาลูกชายผู้มีบุญฤทธิ์มาเกิด
เพื่อจะได้ติดตามเอานางสุมุณฑากลับคืนมา พระอินทร์ได้ส่งเทพ ๓
องค์มาเกิดในท้องนางทั้งสอง องค์หนึ่งเกิดเป็นสีโห (หัวเป็นช้าง)
เกิดในท้องเมียหลวง องค์สองศิลป์ชัย (เป็นคน) และสังข์ทอง (หอยสังข์)
เกิดในท้องเมียน้อย เมียหกคนได้คนสามัญมาเกิด
โหรหลวงได้ทำนายว่าลูกที่เกิดจากเมียน้อยและเมียหลวงจะเป็นผู้มีบุญ คำทำนายของโหร
ไม่เป็นที่พอใจของมเหสีทั้งหก มเหสีทั้งหกจึงว่าจ้างให้โหรทำนายใหม่
โหรเห็นแก่อามิสสินจ้างจึงทำนายใหม่ว่าลูกที่เกิดจากมเหสีทั้ง ๖ มีฤทธิ์เดชมาก
ลูกที่เกิดจากนางจันทาและนางลุน เป็นทั้งคนทั้งสัตว์ เกิดมาอาภัพอัปปรีย์และจัญไร
เมื่อประสูติ พระยากุศราชจึงขับไล่นางจันทา นางลุน พร้อมพระโอรสออกจากเมือง
พระอินทร์เล็งเห็นความทุกข์ยาก จึงมาเนรมิตเมืองไว้ต้อนรับให้ได้อยู่อาศัย
ยังเมืองนครศิลป์แห่งนี้ พระยากุศราชเมื่อขับไล่เมียแล้วให้โอรสทั้งหกไปตามเอาน้องสาวของตนคืนจากยักษ์กุมภัณฑ์
โอรสทั้งหกหลงทางมายังเมืองนครศิลป์ และได้โกหกศิลป์ชัย
ให้ส่งสัตว์ป่าเข้าเมืองด้วยเพื่อเป็นพยานว่าพวกของตนได้พบกับศิลป์ชัยแล้ว
เมื่อถึงเมืองโอรสทั้งหกก็โอ้อวดกับบิดาว่า
พวกเขามีอำนาจเรียกสัตว์ทุกชนิดเข้าเมืองได้ ทุกคนก็หลงเชื่อว่าโอรสทั้งหกมีอำนาจ
เมื่อบิดาสั่งให้โอรสทั้งหกติดตามหาอา
พวกเขาก็มาโกหกศิลป์ชัยว่าบิดาสั่งให้ศิลป์ชัยไปตามหาอา ถ้าได้อาคืน
ความผิดที่แล้วมาพ่อจะยกโทษให้ ศิลป์ชัยและน้องไปถึงด่านงูซวง
กุมารทั้งหกไม่กล้าเดินทางต่อไป ให้สังข์ทองกับศิลป์ชัยเดินทางต่อไปรบกับยักษ์ฆ่ายักษ์ตาย
เอาอาคืนมาได้ เมื่อถึงแม่น้ำใหญ่ กุมารทั้งหกผลักศิลป์ชัยตกเหว
และบอกอาว่าศิลป์ชัยตกน้ำตาย อาไม่เชื่อจึงเอาผ้าสะใบ
ปิ่นเกล้าและช้องผมเสี่ยงทายไว้ เมื่อกลับมาถึงเมือง พระยากุศราชได้จัดงานต้อนรับ
และทราบความจริงว่ากุมารทั้งหกเป็นคนโกหกมาโดยตลอดจึงถูกลงโทษขังคุกพร้อมมารดาของตน
พระยากุศราชพร้อมน้องสาวเชิญเอานางจันทาและนางลุน พร้อมศิลป์ชัย
สีโหและสังข์ทองเข้ามาในเมือง อภิเษกศิลป์ชัยให้เป็นเจ้าเมืองเปงจาล
ต่อมาศิลป์ชัยได้ปล่อยให้คนทั้งหมดออกจากคุก ปกครองบ้านเมืองเป็นสุขสืบมา
ส่วนยักษ์กุมภัณฑ์นั้น พระยาเวสสุวัณได้ชุบชีวิตคืนชีพขึ้นมา
คิดถึงนางสุมุณฑาผู้เป็นมเหสี จึงไปสู่ขอนางจากศิลป์ชัย
และทั้งสองอยู่เป็นสุขตราบสิ้นอายุ
๑. ที่มาของหนังสือ
สังข์ศิลป์ชัย
นับเป็นหนังสือที่เป็นวรรณกรรมสำคัญและเป็นที่นิยมสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษใน
สมัยโบราณกาล ได้มีผู้แต่งเรียบเรียง จารลงในใบลาน มี ๒ ลักษณะ คือ
ลักษณะที่แต่งเป็นร้อยแก้ว และ ลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง
สำนวนที่แต่งเป็นร้อยแก้วนั้นล้วนแต่จารลงในใบลานด้วยอักษรแบบปัลลวะ
หรือที่เรียกว่าอักษรธรรม มี ความยาว ๔o ผูก แต่ละผูกละ ๒oง๒๑ ใบลาน แยกห่อไว้เป็น ๒ มัด มัดต้น ๒o ผูก
มัดปลาย ๒o ผูก เรียกว่าหนังสือมัด ใช้สำหรับเทศน์ เรียกว่า
เทศน์ไตรมาส
สำนวนที่แต่งเป็นร้อยกรอง
มีคำประพันธ์ตามแบบชาวไทยลุ่มน้ำโขงหลายชนิดประสมประสานกัน เช่น กาพย์ กลอน โคลง
ฉันท์ เช่น วิชชุมาลี สินธุมาลี วชิรปันตี นาคบาศ จารลงในใบลานด้วยตัวอักษรไทยน้อย
ตั้งแต่ต้นจนจบเป็นผูกเดียว เรียกว่าหนังสือผูก เป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ
นิ่มนวลต่อการฟัง
อภิชาติการพิมพ์
๑๑๒/๑๑๑ ถนนผังเมืองบัญชา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
นายอภิชาต จำปาเฟื่อง ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา โทร ๗๒๑๔o๓
๒. ประวัติหนังสือ
๒.๑ ยุคสมัยที่แต่ง ในราวปี พ.ศ. ๒๑๘๕
๒.๒ ผู้แต่ง ท้าวปางคำ เจ้าเมืองหนองบัวลำภู
๒.๓ ต้นฉบับ ปริวัติมาจากใบลาน
๒.๔ ผู้ปริวรรต พระอริยานุวัตร (อารีย์
เขมจารี ปธ.๕
ศิลปศาสตร์ดาฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์) เจ้าอาวาสวัดมหาชัย (พระอารามหลวง) รองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม
๒.๕ สำนักพิมพ์ อภิชาติการพิมพ์
๒.๖ ปีที่พิมพ์ ๒๕๓o
บทที่ ๒
วิเคราะห์ ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
๑. เนื้อเรื่อง
๑.๑ ชื่อเรื่อง
- มาจากชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง
๑.๒ แก่นเรื่อง
- คนดีตกน้ำไม่ไหลไม่ตกไฟไม่ไหม้
๑.๓ โครงเรื่อง
-กล่าวถึงเมืองปัญจาล หรือเป็งจาล
-นางสุมณฑาถูกยักษ์ลักพาตัวไป
-พระชายาทั้งหมดของท้าวกุศราชตั้งครรภ์
-พระมเหสีของท้าวกุศราชคลอดลูกเป็นสีโห
-พระชายาองค์สุดท้ายคลอดลูกเป็นสินไซ
-สินไซและมารดาถูกไล่ออกจากเมือง
-สีโหขอติดตามสินไวไปด้วย
-พระอินทร์ทราบเรื่องจึงเนรมิตกระท่อมให้
-พระกุมารทั้งหกเจริญวัย
-กุมารทั้งหกหลอกให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง
-กุมารทั้งหกวานให้สินไซไปตามนางสุมณฑา
-สินไซออกตามหานางสุมณฑา
-สินไซต่อสู้กับท้าววิรุณนาคเพื่อชิงเมือง
-สินไซพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์กลับ
-สินไซโดนผลักตกเหวพร้อมกับสีโห
-พระอินทร์ชุบชีวิตให้กับสินไซ
-นางสุมณฑาเล่าความจริงให้ท้าวกุศราชฟัง
-ท้าวกุศราชเนรเทศกุมารทั้งหกออกจากเมือง
-ท้าวกุศราชออกตามหาสินไซและมารดาเพื่อให้กลับเข้าเมือง
-สินไซกลับเข้าเมืองแล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุศราชฟัง
-สินไซได้ครองเมืองจนเจริญรุ่งเรือง
-ชาวเมืองอยู่อย่างสงบสุข
๑.๔ ตัวละคร
๑. ท้าวกุศราช เป็นพระราชาผู้ครองเมืองปัญจาลหรือ
เป็งจาลเป็นผู้ที่มีนิสัยดีแต่มีนิสัยเจ้าชู้โดยดูได้จากมีชายาหลายองค์แต่ท้าวกุศราชเป็นคนที่รักน้องสาวเป็นอย่างมาก
๒. ท้าวกุมภัณฑ์ เป็นยักษ์ที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ และมีนิสัยเกเรชอบเที่ยวเตร่ไปวันๆ
ไม่ทำอะไรอาศัยอยู่ที่เมืองอโนราชซึ่งเป็นเมืองยักษ์
๓. นางสุมณฑา
เป็นพระขนิษฐาหรือน้องสาวของท้าวกุศราชเป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างงดงามมีเสน่ห์ชายหลายคนเห็นแล้วต้องหลงรัก
ในรูปร่างหน้าตาของนาง
และนางสุมณฑาเป็นคนที่มีนิสัยดีมีความรอบครอบมีความซื่อสัตย์และมีความเป็นธรรม
๔. นางจันทาเทวี เป็นพระชายาของท้าวกุศราชเป็นพระมารดาของสีโหแต่ถูกขับไล่ออกจากเมืองเพราะโดนใส่ร้ายจากคำทำนายของโหรหลวง
นางจันทาเทวีเป็นหญิงมีรูปร่างสง่างามพูดจาไพเราะเป็นคนนิสัยดี มีความซื่อสัตย์
มีความพยายามและมีความอดทนต่อความยากลำบาก
๕. นางลุน เป็นพระชายาของท้าวกุศราชอีกคนและเป็นพระมารดาของสินไซและหอยสังข์ มีรูปร่างสง่างามเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีจิตใจเมตตาและมีความอดทนพยามสูง
๖. หอยสังข์ หรือสังข์ เป็นลูกของนางลุน สังข์มีความวิเศษณ์คือใช้เป็นอาวุธในการปราบศรัตรูและคอยเป็นเพื่อนคู่ใจให้กับสินไซอยู่ตลอดเวลา
๗. สินไซ เป็นตัวละครเอกของเรื่อง
สินไซ เป็นพระโอรสของพระยากุศราชผู้ปกครองนครเป็งจาล มีนางลุนเป็นพระมารดา
มีหอยสังข์หรือท้าวหอยสังข์ ร่วมพระมารดาเดียวกัน สินไซ มีฐานะเป็นน้องชายหอยสังข์
สินไซมีพระนามเต็มที่พระอินทร์ตั้งให้ว่า พระยาสังข์ศิลป์ชัยมหาจักรพรรดิราชเจ้า สินไซมีลักษณะนิสัยที่ดีมีความเมตตาชอบช่วยเหลือบุคคลอื่นอยู่เสมอและมีอาวุธติดตัวมาตั้งแต่เกิดมี
๘. สีโห หรือสีหราช มีลักษณะลำตัวเป็นราชสีห์ ส่วนหัวเป็นช้าง
มากด้วยบุญบารมีมีอิทธิฤทธิ์ สามารถแปลงกายได้หลายรูปแบบ มีพละกำลังมหาศาล
มีเสียงร้องที่ดังสามารถทำลายศัตรูและที่สำคัญ คือ มีความกตัญญูรู้คุณ
๙. พระอินทร์ เป็นเทพที่อยู่บนสรวงสวรรค์มีรูปร่างงดงามกว่าคนธรรมดา
คอยดูแลสินไซอยู่ตลอดเวลาถึงแม้จะตกทุกข์ได้ยากพระอินทร์จะคอยดูแลอยู่เสมอ
พระอินทร์เป็นเทพที่มีหูทิพย์ตาทิพย์มีเวทมนต์สามรถเสกสิ่งของต่างๆ
ได้ตามที่ต้องการ
๑o. โหรหลวง
เป็นหมอดูประจำพระราชวังของเมืองปัญจาล หรือเป็งจาล
เป็นคนที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและความยากลำบากของคนอื่น
๑.๕ ภาษาและอัตลักษณ์ที่ใช้ในการแต่ง
- ภาษาถิ่นอีสานแบบคำกลอนโบราณ
๑.๖ ฉากและสถานที่
ฉากที่ ๑ ที่เมืองปัญจาล
หรือเป็งจานมีพระราชาชื่อท้าวกุศราชและมเหสีชื่อนางจันทาเทวี
ฉากที่ ๒
นางสุมณฑาพระขนิษฐาของท้าวกุศราชถูกยักษ์กุมภัณฑ์ลักตัวไป
ฉากที่ ๓ พระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีตั้งครรภ์
ประสูติเป็นพระโอรสทุกพระองค์
ฉากที่ ๔ พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า " สีโห"
ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลป์ชัย) "
ฉากที่ ๕ หมอหูฮา (โหรา)
ทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก จะสามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล
ฉากที่ ๖ พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาว
จึงติดสินบนหมอหูฮาให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุศราชเกี่ยวกับสินไซ
ฉากที่ ๗
ท้าวกุศราชเนรเทศสินไซและมารดาออกจากเมือง
ฉากที่ ๘
สินไซและมารดาพร้อมด้วยสีโพเดินพเนจรเข้าไปในป่า
ฉากที่ ๙
พระอินทร์เนรมิตกระท่อมให้สินไซและมารดาได้อาศัยอยู่
ฉากที่ ๑o กุมารทั้งหกเจริญวัยแล้วได้เสด็จออกไปประพาสป่าแล้วได้เจอกับสินไซ
ฉากที่ ๑๑
กุมารทั้งหกติดสินบนให้สินไซใช้เวทมนต์เรียกสัตว์ต่าง ๆ เข้าเมือง
ฉากที่ ๑๒
ท้าวกุศราชให้กุมารทั้งหกออกตามหาพระเจ้าอาที่ถูกยักษ์ลักตัวไป
ฉากที่ ๑๓ พระกุมารทั้งหกมาขอร้องให้สินไซออกไปตามพระเจ้าอาแทน
ฉากที่ ๑๔
มารดาของสินไซไม่ยอมให้ไป
สินไซจึงได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้มารดาดูว่าตนสามารถเอาตัวรอดและปราบศัตรูได้
มารดาจึงยอมให้ไป
ฉากที่ ๑๕
สินไซพร้อมด้วยกองทัพทหารและพระกุมารทั้งหกได้ไปถึงฝั่งมหาสมุทร
ฉากที่ ๑๖ สินไซขี่สีโหข้ามไปยังเมืองยักษ์
เพื่อที่จะพานางสุมณฑากลับมายังบ้านเมือง
ฉากที่ ๑๗
สินไซได้พบกับนางสุมณฑาและได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้นางฟัง
ฉากที่ ๑๘
สินไซต่อสู้กับยักษ์กุมภัณฑ์เพื่อชิงนางสุมณฑา
ฉากที่ ๑๙
สินไซฆ่ายักษ์กุมภัณฑ์ได้สำเร็จ
ฉากที่ ๒o สินไซไปยังเมืองนาคเพื่อเล่นพนันชิงเมืองกับท้าววิรุณนาค
ฉากที่ ๒๑ ท้าววิรุณนาคต่อสู้กับสินไซอย่างดุเดือด
ท้าววิรุณนาคแพ้จึงยกเมืองให้
ฉากที่ ๒๒
สินไซพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์กลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารทั้งหกรออยู่
ฉากที่ ๒๓
กุมารทั้งหกออกอุบายที่จะฆ่าสินไซ โดยผลักสินไซตกลงเหวพร้อมกับสีโห
ฉากที่ ๒๔
กุมารทั้งหกยกทัพกลับบ้านเมือง
ฉากที่ ๒๕
นางสุมณฑาใช้ผ้าสไบอธิษฐานถ้าหากสินไซยังไม่ตายให้ตนได้พบกับผ้าผืนนี้อีก
ฉากที่ ๒๖
หกกุมารและนางสุมณฑาพร้อมด้วยนางสุดาจันทร์กลับถึงบ้านเมือง
ฉากที่ ๒๗
ท้าวกุศราชจัดงานเฉลิมฉลองที่กุมารทั้งหกสามารถพานางสุมณฑากลับมาได้
ฉากที่ ๒๘
พระอินทร์ดลใจให้พ่อค้าสำเภาเจอกับผ้าสไบที่นางสุมณฑาเสี่ยงอธิษฐาน
ฉากที่ ๒๙ พ่อค้าสำเภาได้นำผ้าสไบไปถวายแก่ท้าวกุศราช
ฉากที่ ๓o
นางสุมณฑาเห็นผ้าสไบผืนนั้นคิดว่าสินไซยังไม่ตายจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุศราชฟัง
ฉากที่ ๓๑ ท้าวกุศราชรู้ความจริงทั้งหมด
ฉากที่ ๓๒
ท้าวกุศราชสั่งประหารหมอโหรา
ฉากที่ ๓๓
กุมารทั้งหกถูกเนรเทศออกจากเมือง
ฉากที่ ๓๔ ท้าวกุศราชให้ไพร่พลออกไปเชิญพระชายาและสินไซกลับเข้าบ้านเมือง
ฉากที่ ๓๕
สินไซละมารดาเสด็จเข้าเมือง
ฉากที่ ๓๖ สินไซได้ครองเมือง
บทที่ ๓
ความโดดเด่น
สังข์ศิลป์ชัย หรือ สินไซ
เป็นวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านในแถบกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำ โขง
โดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมลาว
ได้มีการสืบทอดต่อกันมาและหลอมรวมความเชื่อความศรัทธาเข้ากับ พุทธศาสนาทำให้ ตำนานเรื่องเล่า “สินไซ” กลายเป็นความนิยมในยุคต่อมา มีความโดดเด่นคือเป็นภูมิ
ปัญญาด้านศิลปกรรม ด้านภาษา และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือมีการใช้คำกลอนอีสานในการแต่งซึ่ง
เป็นภาษาที่ดีอ่านแล้วเข้าใจง่าย
ตัวอย่าง
เมื่อนั้น หกพี่น้อง
วันนั้นประสูติซุม
เป็นเซื้อ หน่อท้าวธิราช มามวล แลนา
ฮมฮมเขา
แต่งปุนบัวพร้อม
ควงสวรรค์ตั้ง วานระวังแฝงฝ่าย
หอมพี่น้อง สองแก้วอยู่ไฟ
แต่นั้น
ความซ่าเท้า เถิงราชวังหลวง
ภูธรคึด คั่งคาทวงท้าว
พอเมื่อ หลายวันแท้ ค่ำเดือนดาออก
พระบาทเจ้า เตินต้าซูนาง
บอกส่ำเซื้อ เชิญแม่มเหสี
ให้พร้อม เอากุมาร แต่งดีดาเฝ่า
ฝูงเคยใช้ ดาดีเฮ็วฮอด
ทุกที่แจ้ง ปุนแล้วเล่าไป
สองพี่น้อง จาอยากยินอาย
กรรมมันมี ว่าลือสิขีนได้
(สังข์ศิลป์ชัย บั้นสีโหสังข์ทองเกิด หน้า ๓o)
จะเห็นว่าการใช้ภาษาของหนังสือเล่มนี้มีความโดดเด่นคือการใช้ภาษาที่เป็นภาษาอีสานแบบคำกลอนโบราณซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ
และมีความไพเราะ อ่านง่าย
บทที่ ๔
การนำไปประยุกต์ใช้
การนำนิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์ศิลป์ชัยไปประยุกต์ใช้มีรูปแบบต่างๆ
มีดังนี้
-การเทศน์สินไซ
-หมอลำเรื่องต่อกลอน
-หนังประโมทัย
-ท่าฟ้อนรำ
-ท่วงทำนองดนตรี
-ภาพกิจกรรมฝาผนัง เป็นต้น
สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิก
นายณัทรกรณ์ โยธารักษ์ รหัส ๕๗๒๑o๔o๖๒๒๓ ปี ๓ หมู่ ๒